วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

09/11/2563 


🌻 บันทึกการเรียนครั้งที่ 12



อาจารย์นำแผนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอและได้ให้คำแนะนำไปทีละกลุ่มว่าควรแก้ไขตรงไหนอย่างไร

โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำกลุ่มดิฉันในส่วนของเนื้อหาและแนวคิด และแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละวัน อาจารย์ได้ติข้อบกพร่องในแผนว่ามีการใช้คำอธิบายซ้ำๆที่ไม่จำเป็นต้องเขียน นอกจากนี้อาจารย์ยังให้ศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของการเขียนแผนดูจากมาตรฐานตัวบ่งชี้ที่เท่าไหร่ และให้ได้ให้ไปเพิ่มเติมในส่วนของมาตรฐานใส่ในแผน


การประเมิน

ประเมินตนเอง

🍩 ยังไม่มีสมาธิในการเรียนมากนัก

ประเมินอาจารย์

🍩 อาจารย์พยายามให้คำแนะนำและบอกข้อบกพร่องให้นักศึกษาเข้าใจทำให้ไปแก้ไขปรับปรุงได้ถูกวิธี

ประเมินเพื่อน

🍩 ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย



บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

 02/11/2563


👀 บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


อาจารย์ให้นักศึกษานำโบรชัวมาทำสื่อสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเลือกหมวดว่าจะทำหนังสือเกี่ยวกับอะไร โดยมีดังนี้ 1.ของใช้ทั่วไป 2.อาหาร 3.เครื่องใช้ไฟฟ้า



กลุ่มของดิฉันเลือกทำเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยวิธีการทำอาจารย์จะให้กระดาษเอ4 มา ตัดภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าจากโบรชัวมาติดในกระดาษเอ4 พร้อมกับเขียนบรรยายประกอบชื่อของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น






จากการทำกิจกรรมนี้เราจะได้หนังสือคำศัพท์โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ทั่วไป เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์จากการทำกิจกรรมนี้ พร้อมยังมีภาพจริงประกอบให้เด็กดู 

อาจารย์ได้มีนำเสนออธิบายเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาพิมพ์แผนการจัดประสบการณ์ลงในแบบฟอร์ม พร้อมกับได้ให้แนะนำเกี่ยวกับข้อผิดพลาดในแผนของเรา


การประเมิน

ประเมินตนเอง

🍇 มีการร่วมมือทำกิจกรรมกับเพื่อนดีมาก

ประเมินอาจารย์

🍇 มีการหากิจกรรมให้นักศึกษาได้ลงมือทำ และได้แนะนำบอกหลักการของการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

🍇 มีส่วนในการทำกิจกรรมดีมาก ตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์




บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

26/10/2563


🌞 บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมกลุ่มตามที่เพื่อนได้ออกแบบมาจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้สลับทำกิจกรรมของเพื่อน 












    กลุ่มของดิฉันได้ทำกิจกรรมทดลองการเกิดฝน
โดยมีวัสดุ-อุปกรณ์ให้ ดังนี้ 
1.ขวดน้ำหรือแก้วน้ำรูปทรงต่างๆ 
2.น้ำแข็ง 
3.น้ำร้อน 
4.กระดาษสี 
5.กรรไกร 
6.กาว



ขั้นตอนการทำ มีการออกแบบก่อนว่าจะทำในลักษณะไหน ฉันเลือกขวดน้ำขวดใหญ่มาตัดในส่วนบนของขวดน้ำ หงายส่วนฝาขาดน้ำใส่ในขวดน้ำและใช้กระดาษสีตกแต่งเป็นรูปกระต่าย เทน้ำร้อนในขวด และใส่น้ำแข็งบนฝาขวดน้ำ จากนั้นสังเกตการทดลองที่ได้ประดิษฐ์ จากการทดลองนอกจากจะได้หลักการการเรียนการสอนแบบSTEMแล้ว ยังทำให้เราได้รู้ถึงหลักการการเกิดฝน และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาสรุปถึงการทำกิจกรรมว่าการออกแบบชิ้นงานของแต่ละคนมีข้อผิดพลาดตรงไหนและของใครทำได้ดีที่สุด โดยกลุ่มของดิฉันการนำแก้วน้ำมาประดิษฐ์จะทำให้เห็นไอน้ำชัดเจนที่สุด


การประเมิน

ประเมินตนเอง

🎃 ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมปานกลาง ยังไม่ตั้งใจฟังคำแนะนำเท่าไหร่ 

ประเมินอาจารย์

🎃 ให้คำแนะนำ พยายามอธิบายถึงหลักการที่ถูกต้องให้นักศึกษาเข้าใจ

ประเมินเพื่อน

🎃 ตั้งใจทำกิจกรรมและฟังคำแนะนำของอาจารย์ดีมาก ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

19/10/2563


📂 บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

    อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มคิดกิจกรรมตามแนวทางการสอนแบบ STEM กลุ่มดิฉันได้คิดกิจกรรมประดิษฐ์อาหารจากเศษกระดาษ

    หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
โดยมีอุปกรณ์ ดังนี้ 1.หลอด25อัน 2.เทปใส



    ให้นักศึกษาช่วยกันออกแบบสไลเดอร์ ทำให้ดินน้ำมันกลิ้งลงมาได้กลุ่มไหนทำให้ดินน้ำมันอยู่บนสไลเดอร์โดยใช้เวลานานที่สุดจะเป็นผู้ชนะ โดยก่อนที่เราจะเริ่มประดิษฐ์เราต้องมีการออกแบบก่อน และเมื่อลงมือทำแล้วพบว่าสิ่งที่เราออกแบบตอนแรกยังใช้งานได้ไม่ดี จึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง คิดหาวิธีทำให้ดินน้ำมันกลิ้งบนหลอดให้ได้





หลังจากประดิษฐ์สไลเดอร์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมาทดลองกลิ้งดินน้ำมัน ปรากฎว่ากลุ่มของเพื่อนที่ทำออกมาในรูปแบบของสไลเดอร์ที่ยาวและความชันน้อยลูกดินน้ำมันจะกลิ้งใช้เวลานานที่สุด ในการทำกิจกรรมนี้จะได้เห็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบ STEM

   
การประเมิน

ประเมินตนเอง

🌟 ช่วยออกแบบทำกิจกรรมให้ความร่วมมือกับเพื่อนในกลุ่ม

ประเมินอาจารย์

🌟 มีการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ลงมือทำด้วยตนเองทำให้เกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำ และได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมขณะที่ทำกิจกรรมหรือหลังทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

🌟 ร่วมกันทำกิจกรรมในกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในกลุ่ม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

12/10/2563


 🐔บันทึกการเรียนครั้งที่ 8



อาจารย์ให้นำเสนอคลิปการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และได้อธิบายให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่าการสอนของแต่ละคนยังบกพร่องตรงไหน ควรปรับปรุงอย่างไร และในแต่ละแผนเราควรเพิ่มเติมกิจกรรมให้น่าสนใจมากขึ้นอย่างไร 


การประเมิน

ประเมินตนเอง

🐤 ส่งงานตรงเวลาตามที่ได้รับมอบหมาย ตั้งใจดูคลิปนำเสนองานของเพื่อนปานกลาง

ประเมินอาจารย์

🐤 อาจารย์ให้คำแนะนำอธิบายดีพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ประเมินเพื่อน

🐤 มีความตั้งใจดูงานของเพื่อน รับฟังคำแนะนำของอาจารย์ดีมาก

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

 

🌳บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาอัดคลิปสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของแต่ละกลุ่มมานำเสนอ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

28/09/2563


🎆บันทึกการเรียนครั้งที่ 6



อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน การจัดการเรียนรู้แบบต่างๆมีดังนี้

1.แนวการสอนแบบไฮสโคป
2.แนวการสอนแบบโครงการ
3.แนวการสอนแบบมอนเตสเซอรี่
4.แนวการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
5.แนวการสอนแบบ STEM
6.แนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ

ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอแนวการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

ความหมาย

การสืบเสาะหาความรู้เป็นแนวคิดที่มีความซับซ้อนและมีความหมายแตกต่างกันไปตามบริบทที่ใช้และผู้ที่ให้คำจำกัดความ โดยศูนย์กลางของการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้นั้น มีต้นกำเนิดจากนักวิทยาศาสตร์ ครู และ นักเรียน (Budnitz, 2003)

การสืบเสาะหาความรู้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา สำรวจตรวจสอบ และ ค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า (สาขาชีววิทยา สสวท., 2550)

การสืบเสาะหาความรู้ คือ การถามคำถามที่สงสัยและเป็นปัญหา ที่สามารถสืบค้นหาคำตอบได้ และสื่อสารคำตอบออกมาได้ (คณะศึกษานิเทศก์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการ จัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1, 2549; Budnitz, 2003; และ Wikipedia, 2007)

การสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย คือ การถามคำถาม ออกแบบการสำรวจข้อมูลการสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ การสรุปผล การคิดค้นประดิษฐ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารคำอธิบาย (Wu & Hsieh, 2006)

การสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐาน ของหลักฐานหรือเหตุผลต่างๆ และอีกความหมายคือเป็นกระบวนการที่นักเรียนใช้ในการค้นคว้า หาคำตอบอย่างมีระบบเพื่ออธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ที่ต้องการศึกษากระบวนการสืบเสาะหาความรู้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนสามารถเลือกจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการต่างๆ ในการสืบเสาะหาความรู้ตามบริบทของผู้สอน ผู้เรียน โรงเรียน และแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมโดยครูเป็นผู้สนับสนุนให้นักเรียนได้สำรวจปรากฏการณ์ต่างๆและกระตุ้นให้นักเรียนสร้างความเข้าใจ ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง (Hogan & Berkowitz, 2000)

กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่อง ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษาในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้น ด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็น ที่ต้องการศึกษาจึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่จะ ช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่อง หรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย

2. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือวาดรูป สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้

4. ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มาก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

5. ขั้นประเมิน (evaluation)เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ การนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่นๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งก่อให้เป็นประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลัก และหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป

รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es)

นักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) ได้นำวิธีการสอนแบบ Inquiry มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเสนอขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน เรียกว่า การเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle หรือ 5Es ได้แก่ Engage Explore Explain Elaborate และ Evaluate กระบวนการเรียนการสอน ในแต่ละขั้นตอนการสอน ของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es) ซึ่งมีขอบข่ายรายละเอียด ดังนี้

1. การสร้างความสนใจ (Engage) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ

ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัยหรือความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนมารู้มาแล้วเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจะจะจัด กิจกรรมหรือสถานการณ์เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทายให้นักเรียนตื่นเต้น สงสัย อยากรู้อยากเห็น หรือขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา การศึกษา ค้นคว้า หรือการทดลอง แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือปัญหาที่ครูกำลังสนใจ เป็นเรื่องที่จะศึกษา ทำได้หลายแบบ เช่น สาธิต ทดลอง นำเสนอข้อมูล เล่าเรื่อง/เหตุการณ์ ให้ค้นคว้า/อ่านเรื่อง อภิปราย/พูดคุย สนทนา ใช้เกม ใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สร้างสถานการณ์/ปัญหาที่น่าสนใจ ที่น่าสงสัยแปลกใจ

2. การสำรวจและค้นคว้า (Explore) นักเรียนดำเนินการสำรวจ ทดลอง ค้นหา

และรวบรวมข้อมูล วางแผนกำหนดการสำรวจตรวจสอบ หรือออกแบบการทดลอง ลงมือปฏิบัติ เช่น สังเกต วัด ทดลอง รวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ

3. การอธิบาย (Explain) นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและค้นหา

มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปและอภิปราย พร้อมทั้งนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวาด ตาราง แผนผัง ผลงานมีความหลากหลาย สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือโต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนดไว้ โดยมีการอ้างอิงความรู้ประกอบการให้สมเหตุสมผล การลงข้อสรุปถูกต้องเชื่อถือได้

มีเอกสารอ้างอิงและหลักฐานชัดเจน

4. การขยายความรู้ (Evaborate)

4.1 ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ลึกซึ้งขึ้น หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึ้นหรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่หรือนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพิ่มขึ้น เช่น ตั้งประเด็นเพื่อให้นักเรียน ชี้แจงหรือร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซักถามให้นักเรียนชัดเจนหรือกระจ่างในความรู้ที่ได้หรือเชื่อมโยงความรู้ที่ได้กับความรู้เดิม

4.2 นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น อธิบายและขยายความรู้เพิ่มเติมมีความละเอียดมากขึ้น ยกสถานการณ์ ตัวอย่าง อธิบายเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เป็นระบบและลึกซึ้งยิ่งขึ้น หรือสมบูรณ์ละเอียดขึ้น นำไปสู่ความรู้ใหม่หรือความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในเรื่องอื่นหรือสถานการณ์อื่นๆ หรือสร้างคำถามใหม่และออกแบบการสำรวจ ค้นหา และรวบรวมเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่

5. การประเมิน (Evaluate)

5.1 นักเรียนระบุสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการและผลผลิต

5.2 นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ เช่น วิเคราะห์วิจารณ์แลกเปลี่ยน

ความรู้ซึ่งกันและกัน คิดพิจารณาให้รอบคอบทั้งกระบวนการและผลงาน อภิปราย ประเมินปรับปรุง เพิ่มเติมและสรุป ถ้ายังมีปัญหา ให้ศึกษาทบทวนใหม่อีกครั้ง อ้างอิงทฤษฎีหรือหลักการและเกณฑ์ เปรียบเทียบผลกับสมมติฐาน เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

5.3 นักเรียนทราบจุดเด่น จุดด้อยในการศึกษาค้นคว้า หรือทดลองการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยวิธีการสืบเสาะและสืบสวนหาความรู้

วิธีการสอนแบบสืบสอบเป็นวิธีการที่ให้ผู้เรียนค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์ และมีผู้สอนเป็นเพียงผู้อำนวยการความสะดวก ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ในการหาความรู้ ซึ่งผู้เรียนต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ คือ

1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) หมายถึง ขั้นตอนการหาความรู้โดยเริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออบแบบการทดลอง และทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์และสรุปผล

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills) ซึ่งหมายถึง ทักษะการคิด ทั้งทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นผสมที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง



การประเมิน

ประเมินตนเอง

💥 ยังไม่ค่อยตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองาน

ประเมินอาจารย์

💥 อาจารย์ได้ให้คำแนะนำอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของเนื้อหา

ประเมินเพื่อน

💥 เพื่อนนำเสนองานได้ดี แต่รูปแบบการนำเสนองานของแต่ละกลุ่มยังไม่มี


บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

 21/09/2563


🎲 บันทึกการเรียนครั้งที่ 5



อาจารย์ให้คิดกิจกรรมเกมศึกษาของแต่ละหน่วยในแต่ละวันโดยให้วาดรูปกิจกรรมลงในแผ่นกระดาษเอ4 

เกมการศึกษา  หมายถึง กิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น
มี
กระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้
     เกมการศึกษาที่
เหมาะสมสำหรับเด็กวัย 3-5ขวบ เช่น เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย (Domino) เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto) ภาพตัดต่อ (Jig-saw puzzle)


หลังจากนั้นอาจารย์ให้เขียนแผนจัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์ และได้ให้คำแนะนำว่าในแผนควรเพิ่มเติมอะไรบ้าง



การประเมิน

ประเมินตนเอง

👉 ยังไม่ตั้งใจฟังเท่าไหร่ แต่ทำกิจกรรมได้สำเร็จ

ประเมินอาจารย์

👉 อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมดี

ประเมินเพื่อน

👉 เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรม

บันทึกการเรียนครั้งที่3

 31/08/2563


🍀 บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 🍀




อาจารย์ให้นั่งเป็นครึ่งวงกลม และให้คิดท่าแนะนำตัวโดยใช้อวัยวะในร่างกายของตัวเองโดยเปลี่ยนท่าตามพยางค์ของชื่อจริง โดยครั้งที่1 ให้ใช้ทุกส่วนส่วนใดก็ได้ ครั้งที่2 ห้ามใช้ส่วนแขน ครั้งที่3 ห้ามใช้อวัยวะส่วนขา กิจกรรมนี้จะช่วยพัฒนากระบวนการคิดของเด็ก พัฒนาสมองส่วนหน้า หรือ EF




EF (Executive Functions) 

เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ

ช่วงวัย 3-6 ปี เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย

1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ

2.Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”

3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้

4.Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก

5.Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น

6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน

7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร

8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

9.Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ



หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวประกอบเพลง โดยครั้งแรกให้เคลื่อนไหวตามอิสระ (เพลงChicken dence) หลังจากนั้นให้แบ่งกลุ่มและให้คิดท่าเต้นประกอบดนตรี อาจารย์ไดให้คำแนะนำเกี่ยวกับการคิดท่าทางประกอบเพลงของแต่ละกลุ่ม และการที่จะนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็ก การให้เด็กเปลี่ยนท่าทางตามจังหวะเพลง คิดท่าเต้นง่ายๆและใช้ท่าไม่เยอะ 





สุดท้ายอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มที่เหลือออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ



การประเมิน

ประเมินตนเอง

➯ มีความตั้งใจทำกิจกรรมเล็กน้อย ชอบคุยเล่นกับเพื่อน

ประเมินอาจารย์

➯ จัดกิจกรรมได้สนุกสนานน่าสนใจ และมีการแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ

ประเมินเพื่อน

➯ ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน


บันทึกการเรียนครั้งที่1

17/08/2563


☁ บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 


☁ อาจารย์ทบทวนความรู้เดิม เกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนรู้

ได้แก่ มอนเตสซอรี่ ไฮ/สโคป วอลดอฟ การสอนโครงการ 

ประสบการณ์การไปสังเกตการสอนช่วงเช้าว่ามีกิจวัตรประจำวันอย่างไรบ้าง

แนะนำเพลงเก็บเด็ก สอนร้องเพลง

ได้เทคนิคในการร้องเพลงและดึงดูดความสนใจของเด็ก การออกแบบท่าเต้นแสดงตามเพลง 

เขียนสรุปแผ่นชาร์ต

อาจารย์ให้จับกลุ่มเขีนแผ่นชาร์ตเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ นำความรู้ ประสบการณ์เดิมที่เคยเรียนรู้นำมาเขียนในแผ่นชาร์ต

👉 1.วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเคลื่่่อนไหวและจังหวะ

        ✏ ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง,ตามจังหวะ,ตามจินตนาการ
        ✏ ความจำ
        ✏ เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
        ✏ ผู้นำผู้ตาม

👉 2.รูปแบบการเคลื่อนไหว,ประเภท

1. เคลื่อนไหวอยู่กับที่ (ใช้อุปกรณ์,ไม่ใช้อุปกรณ์) ได้แก่ ตบมือ ผงกศีรษะ  ขยิบตา ชันเขา เคาะเท้า เคลื่อนไหวมือและแขน มือและนิ้ว เท้าและปลายเท้า โยกตัว ก้ม

2.การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ (ใช้อุปกรณ์,ไม่ใช้อุปกรณ์)  ได้แก่ คลาน คืบ เดิน วิ่ง  กระโดด ควบม้า ก้าวกระโดด







 


การประเมิน


ประเมินตนเอง

⇒ ยังไม่มีความตั้งใจในการฟังมากนััก แต่ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน

ประเมินอาจารย์

⇒ อาจารย์พยายามอธิบายในแต่ละหลักการให้นักศึกษาเข้าใจเน้นให้นักศึกษาคิดตาม

ประเมินเพื่อน

⇒ เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรม บางคนยังไม่ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

24 /08/2563 

👶บันทึกการเรียนครั้งที่ 2






อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มหาหน่วยนำมาจัดประสบการณ์

โดยกลุ่มดิฉันได้หน่วยสุขภาพดีเริ่มต้นที่ตัวหนู

อาจารย์ได้อธิบายหลักการการเลือกเนื้อหาหน่วยที่จะนำไปสอน ต้องสอดคล้องกับพัฒนาการ ความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัย

การจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือการเล่น ให้เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง





อาจารย์ให้เขียนแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะคนละ1แผน ให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่เลือกมา และให้เพื่อนกลุ่มที่1ออกมา
ทดลองสอนตามแผน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ



การประเมิน

ประเมินตนเอง

➠ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับเพื่อน และรับฟังคำแนะนำของอาจารย์

ประเมินอาจารย์

➠ มีการแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวับข้อบกพร่องต่างๆของการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

ประเมินเพื่อน

➠ เพื่อนตั้งใจทำกิจกรรม และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกคน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

09/11/2563  🌻 บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 อาจารย์นำแผนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอและได้ให้คำแนะนำไปทีละกลุ่มว่าควรแก้ไขตรงไหนอย่างไร โดยอาจารย์ไ...