วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563

TEACHING EXAMPLES ตัวอย่างการสอน



TEACHING EXAMPLES ตัวอย่างการสอน







RESEARCH วิจัย

 

RESEARCH วิจัย

การใช้กิจกรรมด้านประสาทสัมผัสเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจำนวนและรู้ค่าจำนวนของเด็กปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา


    การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจำนวนและรู้ค่าจํานวนของเด็กปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ก่อนและหลังใช้กิจกรรมด้านประสาทสัมผัส ตัวอย่างที่ ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านประสาทสัมผัส

2. แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจำนวนและรู้ค่าจำนวน

ผลการวิจัยพบว่าความสามารถด้านการอ่านจำนวนและรู้ค่าจานวนของเด็กปฐมวัยที่ มีความบกพร่องทางสติปัญญา หลังได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมด้านประสาทสัมผัสสูงขึ้น



THE ARTICLE บทความ



THE ARTICLE บทความ

การจัดการศึกษาปฐมวัย


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 พัฒนาขึ้นบนแนวคิดหลักสำคัญ

เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย การทำงานของสมอง การเรียนรู้และการเล่นของเด็ก โดยหลักสูตร

การศึกษาปฐมวัยฉบับนี้จึงถือ การเล่น อย่างมีจุดมุ่งหมาย เป็นหัวใจสำคัญของการจัดประสบการณ์

ให้กับเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยครูจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าสังคมและ

วัฒนธรรมที่แวดล้อมตัวเด็กว่ามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการของเด็ก

แต่ละคน ทั้งนี้ หลักสูตรฉบับนี้มีแนวคิดในการจัดการศึกษาปฐมวัย ดังนี้

1. แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก พัฒนาการของมนุษย์เป็นกระบวนการ

เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในตัวมนุษย์เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิไปจนตลอดชีวิต ซึ่งครอบคลุมการ

เปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและ

สติปัญญาของเด็กแต่ละคนจะมีลำดับขั้นตอนลักษณะเดียวกัน แต่อัตราและระยะเวลาในการผ่าน

ขั้นตอนต่างๆ อาจแตกต่างกันได้ ขั้นตอนแรกๆ จะเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการขั้นต่อไป

2. แนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมอง + EF เด็กวัย 3 - 6 ปีเป็นช่วงเวลาทอง

ของการพัฒนาทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตสู่ความสำเร็จดีที่สุดชีวิต เพราะสมองเจริญเติบโตอย่าง

รวดเร็วมาก เซลล์สมองและจุดเชื่อมต่อใดยิ่งได้รับการกระตุ้นมาก การเชื่อมต่อกันระหว่างเซลล์สมอง

และความสามารถทางการคิดจะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตสู่ความสำเร็จ เป็น

3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้และการเล่นของเด็ก การเรียนรู้ของมนุษย์เรามีผลสืบ

เนื่องมาจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการที่ผู้เรียนมี

ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง และการ

เรียนรู้จะเป็นไปได้ดีถ้าผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว มีโอกาสคิดริเริ่มตามความ

ต้องการและความสนใจของตนเอง รวมทั้งอยู่ในบรรยากาศที่เป็นอิสระ อบอุ่นและปลอดภัย ดังนั้น การ

จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

4. แนวคิดเกี่ยวกับสื่อและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ทำให้เด็ก

เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเข้าใจยาก กลายเป็นรูปธรรมที่เด็กเข้าใจ

และเรียนรู้ได้ง่าย รวดเร็ว เพลิดเพลิน เกิดการเรียนรู้และค้นพบด้วยตนเอง การใช้สื่อการเรียนรู้ ต้อง

ปลอดภัยต่อตัวเด็กและเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสนใจ และความ

ต้องการของเด็กที่หลากหลาย สื่อประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยควรมีสื่อทั้งที่เป็น

ประเภท 2 มิติ และ/หรือ 3 มิติ ที่เป็นสื่อของจริง สื่อธรรมชาติ สื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก สื่อสะท้อน

วัฒนธรรม สื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น

5. แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินพัฒนาการเด็ก

6. แนวคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัย

อยู่หรือแวดล้อมตัวเด็ก ทำให้เด็กแต่ละคนแตกต่างกันไป หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับนี้ถือว่าผู้สอน

จำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าวัฒนธรรมและสังคมที่แวดล้อมตัวเด็ก เพราะเด็กได้รับอิทธิพลจากการ

ปฏิบัติตามประเพณีมรดก และความรู้ของบรรพบุรุษ ค่านิยมและความเชื่อของบุคคลในครอบครัว และ

ชุมชนของ

7. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ครอบครัว


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

09/11/2563  🌻 บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 อาจารย์นำแผนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอและได้ให้คำแนะนำไปทีละกลุ่มว่าควรแก้ไขตรงไหนอย่างไร โดยอาจารย์ไ...